dltv เชื่อว่าผู้ปกครองหลาย ๆ คน รวมถึงบุตรหลานที่อยู่ในวัยเรียนจะต้องทำความรู้จักเรื่อง การเรียนออนไลน์ หรือ การศึกษาทางไกลผ่านโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทุกคนไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ เหล่านักเรียนจึงต้องเรียนผ่านทางระบบออนไลน์
ตามแต่ที่ละสถาบันที่ตนเองสังกัดได้กำหนดไว้ เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างถึงความเหมาะสม รวมไปถึงแนวทางและวิชาในการเรียน ความจริงแล้ว การเรียนออนไลน์นั้น เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยมีช่องการเรียนการสอนทางไกล เรียกว่า DLTV ( DISTANCE LEARNING FOUNDATION UNDER THE ROYAL PATRONAGE ) หรือ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ นั่นเอง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักว่าคืออะไร สอนวิชาอะไร และใครสามารถเรียนได้บ้าง
DLTV คืออะไร
DLTV คือการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในความดูแลของมูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยจะถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเถอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเผยแพร่ภาพไปทั่วประเทศนั่นเอง
ใครที่สามารถเรียนได้บ้าง
ส่วนใหญ่แล้วผู้เรียนคือนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ที่อาจมีจำนวนครูผู้ชำนาญการจำกัด และไม่มีความรู้เชี่ยวชาญในบางวิชา ก็จะให้เรียนผ่านทางช่องนี้แทน นอกจากนั้นยังเปิดฉายทางโรงเรียนทั่วประเทศ สังกัด สพฐ. อปท. ตชด. พระปริยัติธรรม ศูนย์การเรียนรู้ กศน. รวมไปถึงโรงเรียนเอกชนบางแห่งอีกด้วย
ซึ่งวิชาการเรียนการสอนนั้น มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถม ไปจนถึงมัธยมศึกษาเลยทีเดียว โดย 1 ช่อง หมายถึง 1 ชั้นปี เช่น หากจะเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก็เลือกช่อง DLTV1 เรียงไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งก็คือ DLTV 9 นั่นเอง
วิชาที่เปิดสอน
สำหรับวิชาที่เปิดสอนนั้น ประกอบไปด้วยวิชาพื้นฐานอย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ สุขศึกษา ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา ส่วนความหลากหลายของวิชาอื่นก็จะมีมากขึ้นตามระดับชั้นที่เรียน และเนื่องจากเป็นช่องเรียนที่ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้นอกจากจะมีการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปแล้ว ยังมีเนื้อหาอื่น ๆ เช่น สารคดีเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น
สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้ที่ www.dl tv.ac.th
ช่องทางการรับชม
เดิมนั้นสามารถรับชมได้ 3 ช่องทาง คือดาวเทียมระบบ KU-BAND เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จึงได้มีการเพิ่มช่องทางในการรับชมมากขึ้น ดังนี้
- ทีวีดิจิทัล ช่อง 37-51
- สัญญาณทางไกลผ่านดาวเทียมระบบ KU-BAND (จานทึบ) ช่อง 186-200
- สัญญาณทางไกลผ่านดาวเทียมระบบ C-BAND (จานโปร่ง)
- เว็บไซต์ www.dl tv.ac.th
- แอปพลิเคชัน DL TV บนอุปกรณ์พกพา รองรับทั้งแอนดรอยด์และ iOS
- Youtube : DLTV1 Channel – DLTV15 Channel
ช่วงที่ผ่านมามูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงสร้างภายในองค์กร และ ระบบการออกอากาศการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (NEW DL TV) เพื่อให้รับกับสถานการณ์ของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาดังกล่าว มีอยู่ 3 ด้านได้แก่
1.การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก็จะเหมารวมไปถึงการผลิตและการออกอากาศ จากระบบมาตรฐาน Standard Definition (SD) เป็นระบบความคมชัดสูง High Definition (HD) เพื่อถ่ายทอดออกอากาศไปยังห้องเรียนปลายทางมีประสิทธิภาพมากและรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2.พัฒนารูปแบบการสอนออกอากาศให้เป็นการเรียนการสอนแบบ Active Learning และพัฒนาเจ้าหน้าที่เทคนิคให้ถ่ายทำรายการเรียนการสอนอย่างมืออาชีพ โดยจะอบรมเชิงปฏิบัติการครูโรงเรียนต้นทางด้านการจัดการเรียนรู้ทั่วไป ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ นักเรียนเรียนรู้อย่างไร (How Student Learn in the Classroom) การใช้คำถามเพื่อส่งเสริมการคิดและการเรียนรู้ (The Power of Questioning) เป็นต้น
3.ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายปลายทางในการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านการอบรมแนวทางการนำระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปใช้ในการเรียนการสอน ด้วยวิธีการประชุมทางไกลระบบวีดิทัศน์ (DLTV TELETRAINING) และการสนับสนุนอุปกรณ์รับสัญญาณการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้กับโรงเรียนปลายทาง เกมสล็อตออนไลน์ pg slot
และทั้งหมดที่เขียนในบทความนี้ คือ ที่มาที่ไปของ DL TV หรือ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์